OEM, ODM และ OBM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร? oem ข้อดี ข้อเสียมีอะไรบ้าง ทำไมคนจะสร้างแบรนด์ธุรกิจเครื่องสำอาง และ เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ครีมดูแลผิวต้องรู้จัก ในโลกธุรกิจการทำสินค้าและแบรนด์เครื่องสำอาง อาหารเสริม แน่นอนว่าจะต้องคุ้นเคยกับคำศัพท์จำพวกนี้ เป็นคำศัพท์ที่เรียกโรงงานที่ผลิตในแต่ละประเภท มาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับทั้ง 3 คำนี้ว่ามีความแตกต่างอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของเรา
OEM ย่อมาจาก (Original Equipment Manufacturer) OEM คือ การบริการผลิตแบรนด์แบบครบวงจร โดยที่ทางโรงงานจะทำทุกอย่างให้กับเจ้าของสินค้าตั้งแต่การออกแบบบรรจุภัณฑ์การจดเลขที่จดแจ้ง รวมไปถึงการทำการตลาดในการวางจำหน่าย หรือเรียกว่าเป็นการดูแลแบบ One Stop Service
ข้อดีของโรงงาน OEM
- โรงงานมีสูตรต้นฉบับให้ ไม่ต้องคิดหรือพัฒนาสูตรเอง
- โรงงาน OEM ในไทยสามารถผลิตได้จำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนในการทำแบรนด์ ไม่ต้องดูแลโรงงาน
- พร้อมดูแลแบบครบวงจรด้วยผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาด้านเครื่องสำอางได้เป็นอย่างดี
- ไม่ใช้ต้นทุนที่สูงในการย้ายฐานการผลิต
- ลดความเสี่ยง เนื่องจากไม่ใช่โรงงาน เครื่องจักรของตนเอง
ข้อเสียของโรงงาน OEM
- สูตรเครื่องสำอางที่มีให้เลือกมีอย่างจำกัด
- มาตรฐานสูตรอาจจะมีความคล้ายคลึงกับท้องตลาดที่วางจำหน่ายทั่วไป
OEM เหมาะกับผู้ที่ต้องการผลิตเครื่องสำอางที่ใช้ต้นทุนที่ไม่สูงมาก ใครก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ เพราะทางโรงงานมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล ครบวงจร ผู้ใช้บริการเพียงแค่มีความต้องการในการผลิตเครื่องสำอางเท่านั้นก็สามารถผลิตแบรนด์ตนเองได้แล้ว
ODM ย่อมาจาก (Original Design Manufacturer) ODM คือ การบริการการผลิตที่คล้ายกับ OEM คือการผลิตแบบ One Stop Service แต่ที่แตกต่างคือสามารถพัฒนาสูตร คิดค้นให้เข้ากับแบรนด์ตนเองมากขึ้น อาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการผลิตแบบ OEM ทั่วไป
ข้อดีของโรงงาน ODM
- สามารถพัฒนาสูตร ใช้สูตรจากโรงงาน เพื่อต่อยอดได้
- โรงงาน ODM ในไทยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ การดูแลอุปกรณ์ต่ำกว่าการสร้างโรงงานของตนเอง
- มีผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญ ทีมงานที่ให้คำปรึกษาที่ดี
- การย้ายฐานการผลิตใช้ต้นทุนที่ต่ำ
- ลดความเสี่ยงจากการผลิตน้อยกว่าโรงงานของตนเอง
ข้อเสียของโรงงาน ODM
- ต้องมีทุนที่สูงขึ้นเพราะต้องพัฒนาสูตรของตนเอง
ODM เหมาะกับผู้ที่ต้องการผลิตเครื่องสำอางด้วยการคิดค้นสูตรด้วยตนเอง ที่ใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก เจ้าของแบรนด์มีความรู้ด้านเครื่องสำอางและการวางแผนในระยะที่ยาว มีที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้แบรนด์เจริญเติบโต แต่ก็ยังเป็นการบริการแบบ One Stop Service
OBM ย่อมาจาก (Original Brands Manufacturer) OBM คือ การผลิตแบรนด์ด้วยตนเอง ใช้โรงงาน ทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญของตนเอง เป็นการลงทุนที่เน้นการเติบโต มั่นคง พัฒนาในระยะยาว มีหลักการในการคิดสูตร พัฒนาสูตรต่างๆ ดูแลการจดแจ้งด้วยตนเอง เป็นการดูแลด้วยเจ้าของแบรนด์ทั้งหมด
ข้อดีของโรงงาน OBM
- Wise Plus Grow โรงงาน OBM ในประเทศไทยสามารถวางแผน ดูแล พัฒนาสูตร คิดสูตรเองได้อย่างอิสระ ทำให้เห็นถึงปัญหา การแก้ไขได้ด้วยตนเองได้
ข้อเสียของโรงงาน OBM
- ใช้ต้นทุนที่สูง เพราะต้องดูแลด้วยเจ้าของแบรนด์เอง
- มีความเสี่ยง เพราะมีต้นทุนหลานช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน เครื่องจักร ทีมงาน บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
OBM เหมาะกับคนที่มีเงินลงทุนที่สูง พร้อมรับความเสี่ยง ต้องการความมั่นคง เจริญก้าวหน้าในระยะยาว สามารถควบคุมการผลิตและพัฒนาสูตรได้เอง ทำการตลอดเองทั้งหมด
ทำไมโรงงานการผลิต OEM เป็นที่นิยมในโลกยุคใหม่
เพราะ OEM ในไทยมีการบริการแบบครบวงจร มีโครงสร้างการทำแบรนด์ที่สบายกระเป๋า จึงมีนักลงทุนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ยุคใหม่ โดยที่มีสูตรต้นฉบับที่หลากหลายตามความต้องการ มีผู้เชี่ยวชาญช่วยคิดค้น ออกแบบโลโก้ วางแผนโครงสร้างธุรกิจให้กับคุณ พร้อมที่ปรึกษาทั้งก่อนและหลังวางจำหน่าย เพื่อลดความซับซ้อนในการสื่อสาร พร้อมแนะนำนักลงทุนได้อย่างตรงไปตรงมา รวมไปถึงการดูด้านกฎหมายด้านการจดแจ้งเลขที่จดแจ้งสินค้า จึงเป็นเหตุผลที่คนรุ่นใหม่ต้องการสร้างแบรนด์